โปรตีนมีดีที่ย่อยง่าย โดยทั่วไปในเนื้อปลามีโปรตีนประมาณร้อยละ 17-23 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของเราไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั้งโปรตีนยังมีประโยชน์ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรือส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ และเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตตามวัยอันควร นอกจากนี้ปลายังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด โดยเฉพาะไลซีนและทรีโอนิน ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการสมอง และการเจริญเติบโตในวัยเด็ก ทั้งยังเป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้นอนหลับสนิท สมองทำงานได้ดี ไม่แก่เกินวัย และลดความหิวชนิดรับประทานไม่หยุดได้ โดยถ้าคิดเป็นหน่วยร้อยละ จะมีสูงถึงร้อยละ 92 เมื่อเทียบกับ น้ำนมวัวซึ่งมีร้อยละ 91 เนื้อวัวมีร้อยละ 80 และถั่วเหลืองมีร้อยละ 63

ไขมันต่ำและเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ปลายังมีไขมันต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรือที่เรียกว่า โอเมก้า3 ซึ่งเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เราไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากกรดไขมันโอเมก้า3 ที่มีอยู่ในปลาช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัว หรือคลอเลสเตอรอล อันเป็นสาเหตุ ให้เส้นเลือดอุดตัน ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตกได้ กรดไขมันโอเมก้า3 ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

• ช่วยในการลดน้ำหนัก ในปี 1999 นักวิจัยออสเตรเลียพบว่า การบริโภคปลาที่มีโอเมก้า3 สูง เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอล จะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น
• บำรุงสมอง ผลวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่า กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) ในโอเมก้า3 มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะในส่วนของความจำและการเรียนรู้
• ช่วยลดความเครียด Archives of General Psychiatry ได้รายงานการวิจัย เกี่ยวกับน้ำมันปลา ว่าสามารถลดความเครียดในผู้ป่วยโรคประสาท ที่มักจะอาละวาด ทำให้มีอารมณ์ที่เยือกเย็นลงได้
• บรรเทาอาการซึมเศร้า การศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า การขาดโอเมก้า3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อสมอง อาจเป็นสาเหตุทำให้คนมีอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น และขาดความสามารถในการอ่านหนังสือได้
• บรรเทาอาการของโรคไขข้ออักเสบ จากการวิจัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า น้ำมันปลาช่วยบรรเทาอาการ ของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ จนสามารถลดการใช้ยาบางส่วนลงได้
• ลดการอักเสบของโรคผิวหนัง การศึกษาวิจัยระบุว่า การกินปลาที่มีไขมันมาก จะช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนัง อย่างสะเก็ดเงิน (เรื้อนกวาง) เพราะปลามีวิตามินดีจากกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่มากนั่นเอง
• ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ จากการวิจัยในปี 1998 พบว่า การบริโภคปลาอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจลงได้ นอกจากนั้น จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเรกอนยังระบุว่า ในไขมันปลามีกรดไขมันอีพีเอ (EPA) ซึ่งเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า3 ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ของโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยเช่นกัน

ถึงแม้ปลาทุกชนิด จะจัดว่ามีค่าไขมัน และพลังงานต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ชนิดของปลายังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาที่มีอยู่ในเนื้อปลาสด ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกทานตามความ เหมาะสม เราสามารถจัดแบ่งชนิดของเนื้อปลาสด ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1. ปลาที่มีไขมันต่ำมาก (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากะพงแดง และปลาเก๋า
2. ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2-4 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาทูนึ่ง ปลากะพงขาว ปลาจะละเม็ดดำ และปลาอินทรี
3. ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4-8 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจะระเม็ดขาว
4. ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8-20กรัมต่อ 100 กรัม) ส่วนมากมีเนื้อสีเหลือง ชมพูหรือเทาอ่อน ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี

นอกจากนั้นแล้ว วิธีการปรุงอาหารให้สุกตามที่นิยม อย่างการต้ม นึ่ง ทอด ย่าง และเผา ยังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาด้วยเช่นกัน จากการวิจัยพบว่าปลาดิบและปลา ที่ทำให้สุกโดยการต้มและนึ่งทุกชนิด จัดว่าให้ค่าไขมันและพลังงานต่ำ แต่ถ้านำปลาเหล่านี้ไปย่างหรือทอด จะให้ไขมันและพลังงานสูงขึ้น เนื่องจากน้ำที่ระเหยหายไประหว่างการย่างและน้ำมัน ที่ถูกดูดซับเข้าไปในเนื้อปลาระหว่างการทอด ดังนั้น หากเราจะเลือกเมนูปลาครั้งหน้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักด้วยแล้ว อย่าลืมสังเกตทั้งชนิดของปลา และวิธีการปรุงกันก่อนรับประทาน

แร่ธาตุไอโอดีน ป้องกันเอ๋อ เมื่อรับประทานปลาทะเล ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคคอหอยพอก ชนิดที่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน เด็กที่กำลังเจริญเติบโตหากขาดแร่ธาตุชนิดนี้ โอกาสที่จะเป็นโรคเอ๋อ หรือภาวะปัญญาอ่อนก็มีมากขึ้น และยังทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า

แร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส เกราะป้องกันกระดูก การรับประทานปลาตัวเล็กตัวน้อย เช่น ปลาข้าวสาร ปลาฉิ้งฉั้ง รวมทั้งปลากระป๋อง อย่างปลาซาร์ดีนที่รับประทานได้ทั้งเนื้อและก้าง จะช่วยเพิ่มธาตุแคลเซียมที่ได้จากกระดูกปลา ช่วยทำให้กระดูกและฟันของเราแข็งแรง อีกทั้งป้องกันโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักง่ายได้ นอกจากนี้ การรับประทานปลายังได้วิตามินที่หลากหลาย ทั้งวิตามินเอและวิตามินดี (ซึ่งมีมากในน้ำมันตับปลา) รวมทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และไนอาซีน ถึงแม้จะมีในปริมาณเล็กน้อย แต่วิตามินเหล่านี้ ล้วนมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะสมองของเรา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุม การทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ถึงแม้ปลาจะมีคุณค่าและสารอาหารดีๆ มากมาย แต่สำหรับชาวชีวจิต ก็เลือกรับประทานปลาในปริมาณที่พอเหมาะ เพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือประมาณ 200 กรัมเท่านั้น เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน


แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 77 พฤศจิกายน 2549

อ่านต่อ...


ปลานั้น เป็นอาหารที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการดำรงชีวิต ของคนไทยมานาน นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับว่าคนไทย รู้จักเลือกอาหารจากแหล่งธรรมชาต ิมาบริโภคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ปลานั้น เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากมาย มีคุณค่าโภชนาการสูง มีไขมันต่ำหาง่าย ทำอาหารได้อร่อยหลายอย่าง จึงเหมาะสม สำหรับนำมาประกอบเป็นอาหารของคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ทารกอายุ 4 เดือน ขึ้นไปจนถึง ผู้สูงอายุ คุณค่าทางโภชนาการของปลาที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ

คุณค่าทางด้านโปรตีน ปลาเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้สารโปรตีนที่มีคุณภาพดี กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณและคุณภาพ ของโปรตีนและไขมันในปลาชนิดต่างๆ พบว่า ปลาทู เมื่อเปรียบเทียบ กับปลาอื่นๆ มีกรดอะมิโนที่จำเป็น ต่อร่างกายเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย ปลาทูจะมีสูงกว่าแทบทั้งสิ้น และพบว่าในปลา 20 ชนิด ที่คนทั่วไปนิยมบริโภค มีปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่างร้อยละ 14.4-23.0 กรัม โปรตีนในเนื้อปลาจะเป็นโปรตีน ที่ย่อยง่าย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ระบบการย่อยอาหาร ทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื้อปลาโดยลักษณะตามธรรมชาติมี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อยกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เมื่อเนื้อปลาสุกจะแยกออกเป็นชิ้นๆ ตามมัดของกล้ามเนื้อเกี่ยวพัน เนื้อปลา จึงนุ่ม ไม่เหนียวและหดตัวมากเหมือนเนื้อสัตว์อื่นๆ

คุณค่าทางด้านไขมัน นอกจากคุณค่าทางด้านโปรตีนแล้ว ปลายังมีคุณค่าทางด้านไขมัน เนื้อปลาประกอบด้วย ไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิค ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับของโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และการช่วยเร่งการเผาผลาญโคเลสเตอรอลนี้ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง จึงมีส่วนลดอัตราการตายของโรคหัวใจด้วย นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ กรดอีโดซาเปนทีโนอิด หรือ อี พี เอ ที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง ปลา จึงเป็นอาหารที่มีคุณค่า ต่อสมองอย่างยิ่ง ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาเป็นสาร ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ แต่จะได้จากการกินเนื้อปลา

คุณค่าทางด้านวิตามินและแร่ธาตุ เนื้อปลา นอกจากจะให้คุณค่า ด้านโปรตีนและไขมันแล้ว ยังให้วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีก ซึ่งคุณค่าด้านวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีก ซึ่งคุณค่าด้านวิตามิน นั้น เนื้อปลา ประกอบด้วยวิตามินบีหนึ่ง บีสอง และไนอะซิน ที่มีความจำเป็น ต่อการใช้ประโยชน์ของคาร์บอนโบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพ ในการประกอบการงานและการเรียนรู้

คุณค่าทางด้านแร่ธาตุ ปลาประกอบด้วยธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่พอดี ต่อการสร้างกระดูกและฟัน มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดโลหิต ป้องกันโรคโลหิตจาง ส่วนปลาทะเลมีธาตุไอโอดีน ซึ่งช่วย ป้องกันโรคคอพอก ปลานอกจากจะให้คุณค่า ทางโภชนาการต่อร่างกายแล้ว จะต้องเป็นปลาที่ผ่านการประกอบอาหาร ให้สุกด้วยความร้อน การกิน ปลาดิบ จะให้โทษต่อร่างกาย เนื่องจากปลาดิบมีพยาธิตัวจี๊ดจะไช ไปตามกล้ามเนื้อ ผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาหารต่างๆ ราคาสูงขึ้น แต่ปลาก็ยังนับว่าเป็นแหล่งอาหาร ที่ราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆ ที่มีคุณค่าทัดเทียมกัน เพราะคุณค่าสารอาหารโปรตีนในปลา มีทั้งคุณภาพ และปริมาณที่ดีและเหมาะสม มีส่วนนำไปเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ซึ่งเสื่อมสลายให้อยู่ในสภาพปกติ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบของสาร สร้างภูมิคุ้มกันโรคและให้พลังงานแก่ร่างกาย ทั้งยัง เป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรค และให้พลังงานแก่ร่างกาย การกินปลาเป็นอาหารประจำแทนเนื้อสัตว์ จะมีส่วนช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด ส่วนในเด็กทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ได้บริโภคปลาเป็นประจำ จะมีผลอันนำไปสู่การมีพลานามัย ที่สมบูรณ์และแข็งแรง และที่สำคัญต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย โดยการไม่จับปลาในฤดูวางไข่หรือจับปลาเล็กๆ มากิน เพื่อเราจะได้มีปลาให้ลูกหลานได้

อ่านต่อ...


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อ่านต่อ...

ตลาดปลาน้ำจืดวัดป่าเลไลยก์ เปิดดำเนินการในปี 2545 ในอดีตเป็นที่ดินร้างว่างเปล่ามานานด้านหน้าเป็นอาคารพาณิชย์ ส่วนด้านหลังเป็นที่ดินเปล่าเนื้อที่ประมาณ 8ไร่กว่า แล้วทั้ง 2 ท่านทำการปรับปรุงที่ดินเพื่อทำการให้เช่า จึงมีผู้เข้ามาประกอบการค้าที่ตลาดปลาน้ำจืดวัดป่าเลไลยก์ ทิศใต้ติดกับถนนมาลัยแมนโดยอยู่หลังอาคารพาณิชย์ ทิศตะวันตกติดกับคลองส่งน้ำชลประทาน มีทางเข้าออก 3 ทาง ด้านหน้า 2 ทาง และด้านข้าง 1 ทาง ตลาดตั้งอยู่บนถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (เยื้องกับวัดป่าเลไลยก์ จึงเป็นที่มาของชื่อตลาด) ตลาดจะเปิดทำการทุกวัน แต่ช่วงซื้อขายจะอยู่ในช่วงเวลา 4.00 – 8.30 น.

บนเนื้อที่ 8ไร่กว่า แบ่งส่วนที่ให้บริการออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. ห้องเย็น
2. โรงน้ำแข็ง
3. ร้านค้ามินิมาร์ท
4. ห้องน้ำชาย - หญิง
5. ร้านค้าเช่าที่แปรรูปสินค้า 30 ร้าน
6. แผงเช่า 10 แผง
7. ที่ล้างปลาทำปลาสำหรับผู้มาซื้อปลา
8. ร้านอาหาร
9. ลานจอดรถ
ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ได้เปิดบริการลูกค้า ตลาดปลาน้ำจืดวัดป่าเลไลยก์ ได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าเป็นตลาดปลาน้ำจืดที่มีสินค้าหลายชนิด สด สะอาด ราคาถูก และสะดวก

อ่านต่อ...